เมื่อวันพุธที่ 21 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00 น. ภายใต้การอำนวยการของ นางวจิราพร อมาตยกุล ผอ.วช. ได้มอบหมายให้ นางสาวสุขุมาลย์ วิริโยธิน ผอ.สวท.และคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ศปสล. )จัดการอบรมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความรู้เท่าทันภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผ่านการประชุมระบบทางไกล (Zoom Meeting )โดยมี บุคลากรสังกัดกรมการปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ในอำเภอเป้าหมาย เข้าร่วมอย่างร่วมอย่างพร้อมเพรียง

อบรมออนไลน์ครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 3 หัวข้อ : การสร้างรับรู้…สู่การปฏิบัติ แนวทางการสร้างพลเมืองและการผลักดันนโยบาย เพื่อการรับมือภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง” (From Awareness to Action: Building Active Citizenship and Policy Advocacy to Tackle NTS in the Mekong) โดยได้รับเกียรติ จาก คุณทิพย์พาพร ตันติสุนทร ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายศึกษา เป็นวิทยากรในการบรรยาย

ทั้งนี้ ผู้บรรยายได้ชี้ให้เห็นว่า “ภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่” เป็นภัยที่มุ่งโจมตี “ประชาชน” มีความสลับซับซ้อน เกิดขึ้นทั้งจากภายในและภายนอกประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นภัยปัญหาความไม่สงบทางการเมือง ปัญหาความยากจนขาดแคลน ปัญหายาเสพติด และปัญหาการหลอกหลวงออนไลน์ ซึ่งกำลังกลายเป็นปัญหาของประเทศ และยังเป็นปัญหาของคนทั่วโลก ที่ต้องตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ (แก๊งคอลเซ็นเตอร์) ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะ AI ที่สามารถทำเสียง ภาพ โปรแกรม ต่างๆ ให้เป็นของ “ปลอม” มาหลอกลวงประชาชนจนมีความเสียหายเกิดขึ้นจำนวนมาก

 ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำในพื้นที่ต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันภัยต่างๆเหล่า เพราะ “ประชาชน” คือ ตัวแปรและแรงผลักสำคัญในการสร้างเปลี่ยนแปลงและผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยการเปลี่ยน “ประชาชน” เป็น “พลเมือง” โดยการสร้างวัฒนธรรมพลเมือง โดยจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้น ๆโดยเริ่มจาก การที่ประชาชน มีความรู้ สามารถดูแลตัวเองได้ จากนั้นจะมีความสนใจปัญหาบ้านเมือง และเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาบ้านเมือง เพราะรู้สึกได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว และไม่สามารถนิ่งดูดายได้ ต้องลุกขึ้นมามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหากับภาครัฐ

โดยกระบวนการดังกล่าวเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอในฐานะผู้นำในพื้นที่ ต้องมีการขับเคลื่อน  5  แนวทาง ประกอบไปด้วย
1. การสร้างเป้าหมายร่วมกัน ระหว่าง รัฐ พลเมือง และ ประชาชน ในการแก้ปัญหาร่วมกัน
2. การสร้างชุดความคิด ให้ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ (Ownership)และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุด
3.การให้ข้อมูล/ความรู้ กับประชาชน ในเรื่องภัยความมั่นคงต่างๆ ข่าวสาร กฎหมาย เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันเรื่องต่างๆ
4.การสร้างเครือข่าย เช่น การประชุมร่วมกัน การสร้างกลุ่มไลน์ เป็นต้น
5. การสร้างชุดปฏิบัติการ เพื่อจัดการปัญหา เช่น การฝึกอบรม การปราบปราม การป้องกัน การเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ชุดความรู้ต่างๆ สู่ประชาชน โดยเฉพาะการใช้เสียงตามสาย และ การสื่อสารผ่านไลน์ เพื่อเพิมความใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น ให้ประชาชนได้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาต่างๆในพื้นที่ของเขาด้วย

จากนั้นที่วิทยากร ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมในพื้นที่ต่างๆ จัดทำแนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนรับมือภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ในพื้นที่ของตัวเอง โดยผู้เข้าร่วม ได้เสนอความเห็น และ ปัญหา และทางออกในการแก้ปัญหาในพื้นที่อย่างคึกคัก ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ปัญหาสื่อโซเชียล โดยเห็นตรงกันว่า เจ้าหน้าที่ต้องทำงานและสื่อสารกับประชาชนอย่างใกล้ชิด ไม่ให้หลงเชื่อมิจฉาชีพ ไม่เปิดเผยข้อมูลของตัวเอง และไม่ยอมให้บัตรประชาชนใครไปใช้ และไปเปิดบัญชีเป็นบัญชีม้าให้ใครเด็ดขาด

อีกทั้งเสนอแนะว่าในส่วนของภาครัฐ ควรสนับสนุนยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยให้กับเจ้าหน้าที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ ชรบ. ในการปฏิบัติหน้าที่ และควรมีการให้ขวัญและกำลังใจและค่าตอบแทนชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)ให้เหมือนกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่อสม.รู้สึกได้รับการยอมรับและให้ความสำคัญและมีค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่

ขณะที่ ชรบ.ซึ่งทำหน้าที่รักษาความมั่นคงหมู่บ้านและให้แผ่นดิน กลับไม่ได้รับการสนับสนุนในเรื่องเหล่านี้ ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ขาดขวัญและกำลังใจเป็นอย่างมาก เชื่อว่าหากรัฐให้ความสำคัญในเรื่องนี้ จะทำให้ประชาชนในพื้นที่ตื่นตัว/เข้มแข็งและเข้ามามีส่วนร่วมในการรับมือภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่กับภาครัฐมากขึ้น และเมื่อชุมชนเข้มแข็ง ภัยต่างๆก็จะลดลงและไม่สามารถมาทำร้ายประชาชนได้อีกต่อไป

#NTS_Mekong_Watch
#AwarenessToday #Securetomorrow
#ปกป้องพื้นที่ชายแดนเท่ากับการปกป้องประเทศ