ศปสล. ตรวจติดตามโครงการ NTS –Mekong Watch บึงกาฬ ส่งเสริมการสร้างพื้นที่ต้นแบบ (Best practice) รับมือความมั่นคงรูปแบบใหม่ตามแนวทาง “การสร้างชุมชนเข้มแข็งระหว่างประเทศ” สร้างผู้นำเป็น Change Heroes/Agent ช่วยประชาชนชายแดนรู้เท่าทันภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ ปกป้องชุมชนชายแดนเท่ากับการปกป้องประเทศ
ภายใต้การอำนวยการของ นางวจิราพร อมาตยกุล ผอ.วช. ได้มอบหมายให้ นางสาวสุขุมาลย์ วิริโยธิน ผอ.สวท. นำคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ศปสล.) ลงพื้นที่ตรวจติดตามการทำงานของ ทปค.อ. ในระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ พื้นที่จังหวัดบึงกาฬ (ทปค.อ.ปากคาด, ทปค.อ.เมืองบีงกาฬ และ ทปค.อ.บุ่งคล้า)
ในติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (NTS-Mekong Watch) ซึ่งเป็นโครงการที่กรมการปกครองได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้งหมดจากกองทุนความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลีใต้ (MKCF)
โดยเฉพาะการจัดตั้งศูนย์ประสานงานกลไกเฝ้าระวังลุ่มน้ำโขงแบบมีส่วนร่วม (NTS- Mekong Watch Coordination Center) เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ชายแดนในการแจ้งเหตุ/เบาะแส การกระทำผิดกฎหมาย เช่น การลักลอบค้ายาเสพติดข้ามแดน การค้ามนุษย์ และการเข้าเมืองผิดกฎหมาย
ทั้งนี้ ทปค.อ. ได้บรรยายสรุปผลการจัดตั้งศูนย์ประสานงานฯ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในจังหวัดบึงกาฬ เพราะมีช่องทางธรรมชาติเป็นจำนวนมาก รวมถึงการมีพื้นที่ที่ยังใม่มีการปักเขตแดน ทำให้พื้นที่ดังกล่าวถูกใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงขนยาเสพติดได้ง่าย
ในการนี้ ศปสล. ได้รับฟังปัญหา อุปสรรคและข้อแสนอแนะในการดำเนินการโครงการจากในพื้นที่ได้แก่ การขอการสนับสนุนเทคโนโลยีที่ทันสมัย การเพิ่มขวัญและกำลังใจให้กับชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เป็นต้น เพื่อทำให้การลาดตระเวณตรวจตรา สกัดกั้นการลักลอบขนยาเสพติดมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
ศปสล. ได้มีการชี้แจงแนวทางในการดำเนินโครงการปี 2667 เช่น อาทิ เช่น การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน (P2P) ในพื้นที่เป้าหมายของโครงการ 44 อำเภอ 17 จังหวัดที่มีจุดผ่านแดนถาวร และมีจุดผ่อนปรนการค้า, การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ทั้งแบบออฟไลน์ ผ่านศูนย์ประสานงาน NTS -Mekong Watch ของแต่ละอำเภอ และออนไลน์ผ่าน www.NTS-mekong.com , การอบรมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความรู้ความเข้าใจความท้าทายด้านภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ เป็นต้น
นอกจากนี้ ทางคณะฯ ได้ลงพื้นที่ศึกษาปัญหาพื้นที่ชายแดนและรับฟังการบรรยาย ณ จุดผ่อนปรนการค้าบ้านห้วยคาด, จุดผ่านแดนถาวร, ด่านศุลกากรบึงกาฬ และจุดผ่อนปรนการค้าบ้านบุ่งคล้า รวมทั้งศึกษาพื้นที่ช่องทางธรรมชาติริมลำน้ำโขง ที่เป็นช่องทางในการลักลอบขนยาเสพติดด้วย
จากการลงพื้นที่ดังกล่าว ทาง ศปสล. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ปกครองและประชาชนในพื้นที่ชายแดนอย่างเข้มแข็ง จะทำให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ (NTS-Literacy) และการมีผู้นำในพื้นที่มีความเข้มแข็งในการต่อต้านภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ ซึ่งจะสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่สร้างแรงบันดาลใจและกำลังใจให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ (Change Heroes/Change Agent) ในการลุกขึ้นมาต่อสู้กับภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ด้วยประชาชนเอง
รวมถึงการมีพื้นที่ต้นแบบ (Best Practice) “ชุมชนเข้มแข็งระหว่างประเทศ” ที่ประชาชนในพื้นที่คู่ขนานทั้งไทย-ลาว , ไทย- กัมพูชา เรียนรู้กฎหมายซึ่งกันและกัน มีการใช้คุณธรรม/มนุษยธรรมนำการตัดสินใจในเรื่องที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชน และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มแข็งและไม่เลือกปฏิบัติเพื่อสร้างความไว้วางในพื้นที่ซึ่งกันละกัน เพื่อให้พื้นที่คู่ขนานเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นหูเป็นตาเป็นรั้วให้กันและกัน ซึ่งจะเป็นการป้องกันภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่อย่างยั่งยืนที่สุด