18 กันยายน  2567 – ในระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน 2567 – 15 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ภายใต้โครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (NTS-Mekong Watch) กรมการปกครองได้มีการจัดสรรงบประมาณให้ที่ทำการปกครองอำชายแดนในพื้นที่่เป้าหมาย 44 อำเภอ ชายแดนไทย – ลาว และ ไทย-กัมพูชา อำเภอละ 80,000 บาท ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนไทยและประชาชนของประเทศเพื่อนบ้าน (People to People Connectivity) หรือ P2P เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ในแบบการทูตภาคประชาชน โดยผ่านกิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางด้าน วัฒนธรรม กีฬา และ การศึกษา โดยแต่ละอำเภอได้มีการเชิญเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่คู่ขนาน เดินทางมาเยือนประเทศไทย  ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าว ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามสำหรับปีนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมแนวทางการสร้างชุมชนเข้มแข็งระหว่างประเทศ แต่ละอำเภอได้มีการจัดประชุมศูนย์ประสานงานกลไกเฝ้าระวังลุ่มน้ำโขงแบบมีส่วนร่วม (NTS-Mekong Watch Coordination Center) เพื่อให้ผู้แทนทั้งสองฝั่งคู่ขนาน ได้ปรึกษาหารือ และสร้างความร่วมมือในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสาธารณสุข การศึกษา สิ่งแวดล้อม การเปิดจุดผ่านแดนถาวร จุดผ่อนปรนชั่วคราว และภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ต่างๆ ได้แก่ ยาเสพติด การหลอกลวงออนไลน์ การเข้าเมืองผิดกฎหมาย การกลักลอบขนส่งสินค้าผิดกฎหมายข้ามแดน เป็นต้น เพื่อให้พื้นที่ทั้งสองฝั่ง ได้เข้าใจบริบทในการปกครองและข้อกฎหมายต่างๆ ซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะนำข้อมูลต่างๆไปเผยแพร่สู่ประชาชนของตัวเองต่อไป

ทั้งนี้โครงการ NTS- Mekong Watch เป็นข้อเสนอของกรมการปกครอง ที่ได้รับสนับสนุนโดย กองทุนความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 6 (Mekong-ROK Cooperation Fund: MKCF) ภายใต้การจัดการ สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute) โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคให้มี ความครอบคลุมมากยิ่งขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว และ ไทย-กัมพูชา อย่างมีประสิทธิภาพและรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการค้ามนุษย์ การลักลอบขนยาเสพติดข้ามแดน และการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย โดยมีแนวทางในการดำเนินคือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวังภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ และ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ผ่านแนวทาง “การสร้างชุมชนเข้มแข็งระหว่างประเทศ” ที่ส่งเสริมให้ 1. ประชาชน/เจ้าหน้าที่ ในพื้นที่คู่ขนานเรียนรู้กฎหมาย/ระเบียบซึ่งกันและกัน 2. การใช้หลักมนุษยธรรมนำการตัดสินใจในเรื่องที่เป็นความทุกข์ยากลำบากของประชาชน และ 3. การบังใช้กฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นความผิดอาชญากรรมร้ายแรง โดยหลักการพื้นฐานเหล่านี้จะก่อให้เกิดความเข้าอกเข้าใจ ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และทำให้พื้นที่คู่ขนานเป็นเนื้อเดียวกัน ช่วยเหลือกัน เป็น “รั้ว”ให้กันและกัน เข้มแข็งไปด้วยกัน ภัยคุกคามต่างๆก็จะเข้าถึงประชาชนได้ยาก ซึ่งจะเป็นเกราะกำบังภัยความมั่นคงรูปแบบบใหม่อย่างยั่งยืน

 

รายชื่ออำเภอกลุ่มเป้าหมาย 44 อำเภอและพื้นที่คู่ขนาน

 

ด้าน สปป.ลาว

ลำดับ จังหวัด อำเภอ แขวง เมือง
เชียงราย
1 อ.เชียงของ บ่อแก้ว ห้วยทราย
บ่อแก้ว ต้นผึ้ง
2 อ.เชียงแสน บ่อแก้ว ต้นผึ้ง
3 อ.เวียงแก่น บ่อแก้ว ห้วยทราย
4 อ.เทิง ไชยะบุลี คอบ
น่าน
5 อ.เฉลิมพระเกียรติ ไชยะบุลี เงิน
6 อ.สองแคว ไชยะบุลี เชียงฮ่อน
เลย
7 อ.ท่าลี่ ไชยะบุลี แก่นท้าว
8 อ.เชียงคาน เวียงจันทน์ สานะคาม
9 อ.ปากชม เวียงจันทน์ สานะคาม
10 อ.นาแห้ว ไชยะบุลี บ่อแตน
11 อ.ด่านซ้าย ไชยะบุลี บ่อแตน
หนองคาย
12 อ.เมืองหนองคาย นครหลวงเวียงจันทน์ หาดทรายฟอง
13 อ.รัตนวาปี บอลิคำไซ ท่าพระบาท
14 อ.โพนพิสัย นครหลวงเวียงจันทน์ ปากงีม
15 อ.ศรีเชียงใหม่ นครหลวงเวียงจันทน์ สีโคดตะบอง
16 อ.สังคม นครหลวงเวียงจันทน์ สังทอง
บึงกาฬ
17 อ.เมืองบึงกาฬ บอลิคำไซ ปากซัน
18 อ.บุ่งคล้า นครหลวงเวียงจันทน์ ปากกระดิ่ง
19 อ.ปากคาด บอลิคำไซ ท่าพระบาท
นครพนม
20 อ.เมืองนครพนม คำม่วน ท่าแขก
21 อ.บ้านแพง บอลิคำไซ ปากกระดิ่ง
22 อ.ธาตุพนม คำม่วน หนองบก
23 อ.ท่าอุเทน คำม่วน หินบูน
มุกดาหาร
24 อ.เมืองมุกดาหาร สะหวันนะเขต ไกสอนพมวิหาน
อุบลราชธานี
25 อ.นาตาล สาละวัน ละครเพ็ง
26 อ.สิรินธร จำปาสัก โพนทอง
27 อ.เขมราฐ สะหวันนะเขต สองคอน
28 อ.โพธิ์ไทร สาละวัน ละครเพ็ง
29 อ.โขงเจียม สาละวัน คงเซโดน
จำปาสัก ชะนะสมบูน
30 อ.บุณฑริก จำปาสัก สุขุมา
อุตรดิตถ์
31 อ.บ้านโคก ไชยะบุลี ปากลาย
พะเยา
32 อ.ภูซาง ไชยะบุลี คอบ
อำนาจเจริญ
33 อ.ชานุมาน สะหวันนะเขต ไชพูทอง

ด้านกัมพูชา

ลำดับ จังหวัด อำเภอ จังหวัด อำเภอ
ศรีสะเกษ
34 อ.ภูสิงห์ อุดรมีชัย อัลลองเวง
สุรินทร์
35 อ.กาบเชิง อุดรมีชัย สำโรง
จันทบุรี
36 อ.โป่งน้ำร้อน พระตะบอง กร็อมเรียง
ไพลิน ศาลากราว
37 อ.สอยดาว พระตะบอง พนมปรึก
ตราด
38 อ.คลองใหญ่ เกาะกง มณฑลสีมา
39 อ.บ่อไร่ พระตะบอง สำรูด
อุบลราชธานี
40 อ.น้ำยืน พระวิหาร จอมกระสาน
สระแก้ว
41 อ.ตาพระยา บันเตียนเมียนเจย ทะมอพวก
42 อ.อรัญประเทศ บันเตียนเมียนเจย โอโจรว
บันเตียนเมียนเจย ปอยเปต
บันเตียนเมียนเจย มาลัย
43 คลองหาด พระตะบอง สำเภาลูน
บุรีรัมย์
44 อ.บ้านกรวด อุดรมีชัย บันเตียอำปีล