ศปสล. ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการ NTS -Mekong Watch ชายแดนน่าน ศึกษาการบริหารจัดการชายแดนและการสร้างความร่วมมือกับพื้นที่คู่ขนาน (น่าน – เชียงฮ่อน,เมืองเงิน) ใช้แนวทางการ “การสร้างความร่วมมือ” สู่การสร้างความมั่นคงและการสร้างชุมชนเข้มแข็งระหว่างประเทศ

ระหว่างวันที่ 18 – 22 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ภายใต้การอำนวยการของ นางวจิราพร อมาตยกุล ผอ.วช. ได้มอบหมายให้ นางสาวธัญณิชา เหลิมทอง ผู้จัดการโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ศปสล.) และ คณะ ลงพื้นที่ จังหวัดน่าน ณ ทปค.ทุ่งช้าง และ ทปจ. น่าน และ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองน่าน

โดยทีม ศปล.ได้มีการประชุมเพื่อรับฟังการดำเนินโครงการ NTS-Mekong Watch โดยมีท่านนายอำเภอทุ่งช้าง และ ปลัดฝ่ายความมั่นคง ของ อ.สองแคว และ เฉลิมพระเกียรติ ให้ข้อมูลอย่างพร้อมเพรียง

โดยพบว่าผลการดำเนินโครงการฯเป็นไปด้วยดี แม้จะมีปัญหาอุปสรรคเรื่องการเดินทางในการดำเนินโครงการ P2P ที่งบประมาณมีความล่าช้าในเดือน มิถุนายน ไม่ตรงกับบริบทของพื้นที่ เพราะเป็นฤดูฝน ทำให้การเดินทางของพื้นที่คู่ขนานและการจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะตรงกับฤดูฝน ดังนั้น ในอนาคตควรมีการจัดสรรงบประมาณตั้งแต่ต้นปี ซึ่งจะทำให้การจัดกิจกรรมต่างๆราบรื่นมากกว่า

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่เห็นว่า การประสานงานกับพื้นที่คู่ขนาน ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “ความมั่นคง” เพราะยังเป็นคำที่อ่อนไหว ควรใช้คำว่า “ขอความร่วมมือ” ในการดูแลเรื่องต่างๆ ก็จะทำให้บรรยากาศการพูดคุยลดความตรึงเครียดลงได้ เพราะในระบบการทำงานราชการของสปป.ลาว อำนาจจะรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง ในระดับอำเภอหากเป็น “เรื่องการประชุม” อาจะทำให้ พื้นที่คู่ขนานรู้สึกว่าเป็นทางการและไม่สามารถให้คำตอบได้ เพราะต้องรออนุมัติจากส่วนกลางก่อน ดังนั้น หากมีงานใดๆ ควรใช้คำว่า “เชิญเข้าร่วมกิจกรรม” ไปเลย จะทำให้เจ้าหน้าที่พื้นที่คู่ขนานตัดสินใจในการให้ความร่วมมือได้ง่ายกว่า  ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การสร้างความมั่นคงและการสร้างชุมชนเข้มแข็งระหว่างประเทศ ที่ทั้งสองคู่ขนานทำงานใกล้ชิดและประสานงานต่างๆเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งเป็นงาน

นอกจากนี้ทางคณะฯได้ร่วมประชุมกับศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดน่าน  (ศอ.ปส.จ.นน.) รับฟังการบรรยายเรื่อง “ท่าวังผาโมเดล”
ที่เน้นแก้ปัญหายาเสพติด ผสานความร่วมมือภาครัฐ และภาคประชาชน ตัดวงจรผู้ค้า รักษาผู้เสพ คืนสู่อ้อมกอดชุมชน รวมถึงการศึกษาดูงานที่ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดน่าน  (ตม.น่าน) และได้เห็นการบริการประชาชนอย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะในเรื่องการขออนุญาตพำนักในรูปแบบต่างๆที่เจ้าหน้าที่ได้จัดทำแฟ้มเอกสารตัวอย่างกรณีการเข้าเมืองต่างๆ เพื่อให้ประชาชนสะดวกต่อการกรอกข้อมูลต่างๆ

ทั้งนี้ทีม ศปสล. จะนำความรู้ต่างๆเพื่อนำไปพัฒนาโครงการฯต่อไป